คำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497
เรื่อง การตรวจทางแพทย์ของผู้ประจำหน้าที่ประเภทนักบินกรณีอากาศยานประสบเหตุ
———————————–
เพื่อให้ผู้ประจำหน้าที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 44(3) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 อาศัยอำนาจตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว อันเป็นบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมการบินพลเรือนในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ค. 2497 จึงมีคำสั่งให้ผู้ประจำหน้าที่ประเภทนักบินกรณีอากาศยานประสบเหตุ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิกค่าสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ที 72/2554 เรื่อง การตรวจทางแพทย์ในกรณีที่อากาศยานประสบอุบัติเหตุ สั่ง ณ วันที่ 1 เมษายน 2554
ข้อ 2. ในคำสั่งนี้
"อนุสัญญา" หมายความว่า อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ค.ศ. 1944 ซึ่งกระทำขึ้นที่เมืองชิคาโก เมื่อวันที 7 ธันวาคม พ.ศ. 2497 รวมตลอดถึงภาคผนวกและบทแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกหรืออนุสัญญานั้น
"อุบัติเหตุตามอนุสัญญา" หมายความว่า เหตุการณ์ทีเกิดขึ้นอันเกี่ยวกับการปฏิบัติการของอากาศยาน ในระหว่างเวลาที่มีบุคคลใดๆ เข้าไปในอากาศยาน โดยมีเจตนาเพื่อเดินทางในเที่ยวบินนั้นจนถึงเวลาที่บุคคลดังกล่าวทั้งหมดได้ลงจากอากาศยาน โดยส่งผลให้
(1) มีบุคคลเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บสาหัส อันเป็นผลมาจาก
(ก) การอยู่ในอากาศยาน
(ข) สัมผัสโดยตรงกับส่วนใดๆ ของอากาศยานนั้น รวมถึงส่วนต่างๆ ทีหลุดออกจากอากาศยานนั้น หรือ
(ค) สัมผัสโดยตรงกับไอพ่น (Direct exposure to jet blast) ของอากาศยานนั้น
ยกเว้นเมือการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บนั้นเกิดจากเหตุธรรมชาติ การกระทำของตนเองหรือบุคคลอื่น หรือเมื่อการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บนั้นเกิดขึ้นกับผู้ที่แอบโดยสารบนอากาศยาน ซึ่งหลบซ่อนตัวอยู่นอกบริเวณที่ได้จัดเตรียมไว้สำหรับผู้โดยสารและลูกเรือตามปกติ หรือ
(2) อากาศยาน หรือโครงสร้างของอากาศยานบนได้รับความเสียหายโดย
(ก) มีผลกระทบต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง สมรรถนะ หรือคุณลักษณะทางการบินของอากาศยานนั้น และ
(ข) หากประสงค์จะให้กลับสู่สภาพเดิม จำเป็นต้องทำการซ่อมแซมในสาระสำคัญหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ได้รับผลกระทบ
ยกเว้น กรณีเครื่องยนต์ขัดข้อง หรือได้รับความเสียหาย เมื่อความเสียหายนั้นจำกัดอยู่เพียงเครื่องยนต์เดียว (รวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฝาครอบเครื่องยนต์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องยนต์) หรือกรณีความเสียหายจำกัดอยู่เพียงใบพัด ปลายปีก เสาอากาศ อุปกรณ์ที่ยื่นออกมาจากอากาศยาน เพื่อใช้วัดค่าต่างๆ (Probes) ครีบ (Vanes) ยาง ห้ามล้อ ล้อ ฝาครอบลดแรงต้านอากาศ แผงเครื่องวัดต่างๆ (Panel) หรือประตูเก็บฐานล้อ หน้าต่างด้านหน้าห้องนักบิน ผิวอากาศยาน (เช่น รอยบุบ หรือรอยทะลุขนาดเล็ก เป็นต้น) หรือความเสียหายเล็กน้อยบริเวณใบพัดหลักและใบพัดหางของเฮลิคอปเตอร์ ฐานล้อ และความเสียหายเล็กน้อยอื่นๆ ที่เกิดจากลูกเห็บตกใส่ หรือนกชนอากาศยาน (รวมทั้งรูที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนหัวของอากาศยาน (Radome)) หรือ
(3) อากาศยานนั้นสูญหายหรือไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างแน่แท้ โดยให้ถือว่าอากาศยานสูญหาย เมื่อการค้นหาอย่างเป็นทางการได้ยุติลง และไม่พบอากาศยานหรือซากของอากาศยาน
"อุบัติการณ์ตามอนุสัญญา" หมายความว่า เหตุการณ์ใดๆ นอกเหนือจากอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวกับการปฏิบัติการของอากาศยาน โดยมีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อความปลอดภัย ของการปฏิบัติการดังกล่าว
"อุบัติการณ์รุนแรงตามอนุสัญญา" หมายความว่า อุบัติการณ์ตามอนุสัญญา ที่มีกรณีแวดล้อมบ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดอุบัติเหตุตามอนุสัญญาขึ้น
ข้อ 3. ในกรณีที่อากาศยานเกิดอุบัติเหตุตามอนุสัญญา ผู้ประจำหน้าที่ประเภทนักบินของอากาศยานนั้น ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) หยุดทำการบินและรับการตรวจทางแพทย์ ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เกิดอุบัติเหตุตามอนุสัญญา จากสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ ศูนย์เวชศาสตร์การบินพลเรือน หรือสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากกรมการบินพลเรือน
เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่สามารถเดินทางไปรับการตรวจทางแพทย์จากหน่วยงาน ตามวรรคหนึ่งได้ให้รับการตรวจทางแพทย์จากสถานพยาบาลอื่นได้ โดยต้องตรวจตามแนวทางปฏิบัติสำหรับ Laboratory Investigation แนบท้ายคำสั่งนี้ หากสถานพยาบาลอื่นไม่สามารถทำการตรวจได้ให้เก็บตัวอย่างชีววัตถุจากร่างกายตามแนวทางปฏิบัติสำหรับ Laboratory Investigation ด้วยเพื่อจัดส่งให้กับสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศทำการตรวจต่อไป
(2) รับการตรวจทางแพทย์เพื่อตรวจสอบความพร้อมก่อนทำการบินใหม่จากสถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ โดยผลการตรวจทางแพทย์ได้บ่งชี้ว่าไม่เป็นอุปสรรคต่อการบิน และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาแล้วอนุญาตให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
(3) เมื่อได้รับผลการตรวจตาม (1) และ (2) แล้ว ให้ผู้ประจำหน้าที่ประเภทนักบินดังกล่าวส่งผลการตรวจทางแพทย์นั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า
ข้อ 4 ในกรณีที่อากาศยานเกิดอุบัติการณ์ตามอนุสัญญา หรืออุบัติการณ์รุนแรงตามอนุสัญญา พนักงานเจ้าหน้าที่อาจสั่งให้ผู้ประจำหน้าที่ประเภทนักบินของอากาศยานนั้น หยุดทำการบินและได้รับการตรวจทางแพทย์ตามข้อ 3. ได้ตามแต่จะเห็นสมควร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554
(นายสมชาย จันทร์รอด)
อธิบดีกรมการบินพลเรือน
แนวทางปฏิบัติสำหรับ Laboratory Investigation แนบท้ายคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497
ที่ 158/2554 เรื่อง การตรวจทางแพทย์ของผู้ประจำหน้าที่ประเภทนักบินกรณีอากาศยานประสบเหตุ
1. รายการที่ตรวจ
1.1 Complete Blood Count
1.2 Routine Blood Chemistry
1.3 Blood Alcohol
1.4 Urine Examination
1.5 Screening Drugs Test
1.5.1 Amphetamine
1.5.2 Opiate
1.5.3 Cannabinoids
1.5.4 Barbiturate
1.5.5 Benzodiazepine
1.5.6 Acetaminophen
1.6 On Requested เช่น
1.6.1 Carbonmonoxide
1.6.2 Lead
2. วิธีเก็บตัวอย่างช้าวัตถุที่ต้องการตรวจ : บุคคลมีชีวิต
ชีววัตถุ |
ปริมาณ |
ภาชนะที่ใส่ |
การเก็บรักษา |
เลือด |
2 cc |
Tube with EDTA |
อัดจุกให้แน่น เขย่า พันด้วยเทป เก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง |
3 cc |
Tube with Fluoride |
อัดจุกให้แน่น เขย่า พันด้วยเทป เก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง |
|
5 cc |
Sterile Test Tube |
อัดจุกให้แน่น เขย่า พันด้วยเทป เก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง |
|
ปัสสาวะ |
ไม่น้อยกว่า 100 cc |
ถุงพลาสติกหรือขวดที่สะอาด |
ใส่ถุง2 ชั้น รัดยางให้แน่น หรือปิดปากขวดให้แน่น เก็บไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง |
——————————————-