โครงสร้างของค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศ
ค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศ = ค่าบริการการทำการบินตามเส้นทางบิน (En Route Charge) + ค่าบริการการทำการบินในเขตสนามบินและประชิดสนามบิน (Terminal Charge)
|
คำอธิบายเพิ่มเติม
ก) MTOW
MTOW คือ น้ำหนักบรรทุกสูงสุดของเครื่องบินขณะบินขึ้น ตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ มีหน่วยเป็นเมตริกตัน ทั้งนี้ เศษของน้ำหนักที่ไม่ถึง 1 ตัน จะคิดเป็น 1 ตัน ทั้งนี้การคำนวณค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศใช้ข้อมูล MTOW ตามที่ได้ประกาศในเว็บไซต์ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
ข) ระยะทางที่ทำการบิน
คือ ระยะทางที่ทำการบินจริงที่ระบุในแผนการบิน โดยคำนวณจากจุดเข้าถึงจุดออกของเส้นทางบินตามเส้น Great Circle ภายใต้ขอบเขต FIR ของประเทศไทย และนำมาหักลบระยะทางในช่วงการบินในเขตสนามบินและเขตประชิดสนามบิน (ท่าอากาศยานละ 50 กิโลเมตร) มีหน่วยเป็นกิโลเมตร (Kilometer: Km) ทั้งนี้เศษของระยะทางที่ทำการบินที่ไม่ถึง 1 กิโลเมตร จะคิดเป็น 1 กิโลเมตร ซึ่งหากทำการบินน้อยกว่า 250 กิโลเมตร ให้คิดเป็น 250 กิโลเมตร หรือระยะทางที่ทำการบินเท่ากับ 1 ทั้งนี้การคำนวณค่าบริการควบคุมจราจรทางอากาศใช้ข้อมูลระยะทางตามที่ได้ประกาศในเว็บไซต์ของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
ค) สัดส่วนต้นทุนการให้บริการ (Terminal Multiplier)
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ = 0.90
ท่าอากาศยานดอนเมือง = 0.50
ท่าอากาศยานสากลภูมิภาค = 0.50
(ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ท่าอากาศนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต และ ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่)
ท่าอากาศยานภูมิภาคอื่น = 0.05
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา = 0
ง) Unit Rate
En Route Charge =3,500 บาทต่อหน่วย
Terminal Charge =500 บาทต่อหน่วย
หมายเหตุ
1. อัตราค่าบริการข้างต้นเป็นอัตราต่อหน่วยบริการ โดยหน่วยบริการของสายการบินสมาชิกและสายการบินเช่าเหมาลำ คิดเป็นหนึ่งในสามของหน่วยบริการของสายการบินที่มิใช่สมาชิก
2. สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ ได้รับส่วนลดค่าบริการฯ ร้อยละ 25 ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อ
การสนับสนุนการทำการบินภายในประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป
3. ค่าบริการสำหรับเที่ยวบินบินผ่าน คิดเป็น 1.45 เท่าของค่าบริการสำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ
3. อัตราค่าบริการฯ สำหรับอากาศยานขนาดเล็กในเที่ยวบินที่ใช้เพื่อการฝึกบิน
อากาศยานขนาดเล็กในเที่ยวบินที่ใช้เพื่อการฝึกบิน หมายถึง อากาศยานที่สถาบันการฝึกอบรมด้านการบินที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยรับรองใช้ในการฝึกบิน ซึ่งมีน้ำหนักสูงสุดเมื่อบินขึ้นตามที่ระบุไว้ในคู่มือการบินเกิน 500 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 5,700 กิโลกรัม
ส่วนที่ |
ประเภทค่าบริการฯ |
ท่าอากาศยาน |
ท่าอากาศยานที่ไม่ใช่ฐานฝึกบิน |
1 |
En Route Charge |
ร้อยละ 10 ของอัตราค่าบริการฯ |
ร้อยละ 20 ของอัตราค่าบริการฯ |
2 |
Terminal Charge (DEP/ARR) |
ร้อยละ 50 ของอัตราค่าบริการฯ |
ร้อยละ 100 ของอัตราค่าบริการฯ |
3 |
3.1 Terminal Charge (TGL, LA), MAT) |
ร้อยละ 50 ของอัตราค่าบริการฯ
ทำการบินลงและขึ้นเท่ากับ 1 เที่ยวบิน คิดค่าบริการฯ บินลงและขึ้น |
ร้อยละ 100 ของอัตราค่าบริการฯ
ทำการบินลงและขึ้นเท่ากับ 1 เที่ยวบิน คิดค่าบริการฯ บินลงและขึ้น |
3.2 Terminal Charge (SGL) |
ร้อยละ 50 ของอัตราค่าบริการฯ
ทำการบินลงและขึ้นเท่ากับ 2 เที่ยวบิน คิดค่าบริการฯ บินลงและขึ้น |
ร้อยละ 100 ของอัตราค่าบริการฯ
ทำการบินลงและขึ้นเท่ากับ 2 เที่ยวบิน คิดค่าบริการฯ บินลงและขึ้น |
|
ทั้งนี้ บวท. ให้ส่วนลดค่าบริการฯ อีกร้อยละ 25 ของอัตราค่าบริการฯ เช่นเดียวกับเที่ยวบินภายในประเทศ |
ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.aerothai.co.th/airlineservices