ใบอนุญาตปฏิบัติการบินแบบพิเศษ
|
ในกรณีที่อากาศยานลำใดที่ต้องห้ามทำการบินตาม พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๔๑/๘๙ ห้ามมิให้ผู้ใดนำอากาศยาน ทำการบิน ในกรณีดังต่อไปนี้ |
1. ไม่มีใบสำคัญสมควรเดินอากาศตามมาตรา 41/61 | |
2. ใบสำคัญสมควรเดินอากาศเป็นอันสิ้นผลตามมาตรา 41/70 | |
3. ใบสำคัญสมควรเดินอากาศเป็นอันใช้ไม่ได้เป็นการชั่วคราวตามมาตรา 41/85 | |
4. อากาศยานนั้นไม่ได้รับการตรวจตามรายการเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือผู้อำนวยการสั่งตามมาตรา 41/81 หรือ มาตรา 41/82 | |
5. อากาศยานนั้นอยู่ในระหว่างต้องคำสั่งห้ามบินตามมาตรา 41/83 | |
6. ใบสำคัญสมควรเดินอากาศถูกพักใช้ตามมาตรา 41/86 | |
7. ใบสำคัญสมควรเดินอากาศถูกเพิกถอนตามมาตรา 41/87 | |
แต่มีความจำเป็นที่จะต้องให้อากาศยานดังกล่าวบินไปยังฐานของผู้จดทะเบียนอากาศยานหรือของผู้ดำเนินการเดินอากาศ หรือบินไปยังหน่วยซ่อมหรือบินหลบภัย หรือในกรณีที่ จำเป็นต้องให้อากาศยานซึ่งมีใบสำคัญสมควรเดินอากาศลำใดทำการบินนอกเหนือไปจากข้อจำกัดที่ กำหนดไว้ในคู่มือของอากาศยาน ถ้าผู้อำนวยการเห็นว่าอากาศยานนั้นสามารถบินได้อย่างปลอดภัยเพื่อ วัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้อำนวยการอาจอนุญาตเป็นหนังสือให้อากาศยานนั้นทำการบินไปยังสถานที่ดังกล่าวได้ภายใต้เงื่อนไขที่ผู้อำนวยการกำหนด ตาม พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๔๑/๙๐ หรืออากาศยานที่ทำการบินทดลองภายใต้ พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๑๖ วรรค ๒ (๒), เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ |
|
1. การบินทดลองเพื่อนําผลมาประกอบการพิจารณาออกใบสําคัญสมควร เดินอากาศ | |
2. การบินทดลองภายหลังการบํารุงรักษาอากาศยาน ในกรณีที่อากาศยานไม่มี ใบสําคัญสมควรเดินอากาศ | |
3. การบินทดลองเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น บินเพื่อแสดงสมรรถนะและส่งมอบ อากาศยานของผู้ขายให้กับผู้ซื้อ หรือบินเพื่อการวิจัยและพัฒนาอากาศยาน หรือบินเพื่อรับรองการ ดัดแปลงอากาศยานในสาระสําคัญ เป็นต้น
|
|
ผู้จดทะเบียนอากาศยานผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทําการบินทดลองอากาศยาน ให้ยื่นคําขอมายังสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเอกสาร และหลักฐานเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ตาม ประกาศกรมการขนส่งทางอากาศ เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยการบินทดลองอากาศยาน พ.ศ. ๒๕๕๑ และ ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้อากาศยานต้องห้ามทำการบินให้ทำการบินได้ในกรณีจำเป็น (Special Flight Permit) พ.ศ. ๒๕๖๗
ใบอนุญาตปฏิบัติการบินแบบพิเศษ รวมทั้ง การบินทดลอง สำนักงานการบินพลเรือน อาจจะพิจารณาอนุญาตอากาศยานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการออกใบอนุญาตที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด แต่ สามารถทำการบินได้ด้วยความปลอดภัย. ใบอนุญาตปฏิบัติการบินแบบพิเศษ รวมทั้ง การบินทดลอง จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ก่อนทำการบิน และไม่อนุญาตให้ทำการบินนอกเหนือราชอาณาจักรไทย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากประเทศปลายทาง |
ข้อกำหนดเบื้องต้น
|
ผู้ขอจะต้องจัดเตรียมเอกสารและข้อมูลที่ระบุไว้ในส่วน “ เอกสารอะไรบ้างที่ต้องจัดเตรียมสำหรับการยื่นคำขอ” ด้านล่าง |
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามคำขอ
|
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการออกใบอนุญาตปฏิบัติการบินแบบพิเศษ และ การบินทดลอง |
ระยะเวลาในการดำเนินการ ?
|
กระบวนการประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ระยะเวลานี้สามารถขยายได้ขึ้นอยู่กับผลการตรวจสอบและการแก้ไข (ถ้ามี) |
|
ใบอนุญาตมีอายุเท่าไหร่ ?
|
สำหรับใบอนุญาตปฏิบัติการบินแบบพิเศษ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้พิจารณาและกำหนดระยะเวลาการอนุญาต ทั้งนี้จะอ้างอิงจากข้อกำหนดและเงื่อนไขจากผู้ถือใบรับรองแบบอากาศยาน สำหรับการบินทดลองอากาศยาน มีอายุการอนุญาตครั้งละ 14 วัน นับถัดจากวันอนุญาต ตาม ประกาศกรมการขนส่งทางอากาศ เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยการบินทดลองอากาศยาน พ.ศ. ๒๕๕๑ |
รายการเอกสารประกอบการขออนุญาตปฏิบัติการบินแบบพิเศษ |
|
1. | ใบคำร้อง (Intention letter) |
2. | CAAT-AIR-FM-CER-SFP-300 Application for Special Flight Permit |
3. | เอกสารอื่นที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกำหนด. |
รายการเอกสารประกอบการขออนุญาตทำการบินทดลอง เป็นไปตาม ประกาศกรมการขนส่งทางอากาศ เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยการบินทดลองอากาศยาน พ.ศ. ๒๕๕๑ |
|
1. | ใบคำร้อง |
2. | CAAT-AIR-FM-CER-SFP-300 Application for Special Flight Permit |
3. | เอกสารและหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิครอบครองอากาศยาน ของผู้ยื่นคำขออนุญาต |
4. | เอกสารและหลักฐานแสดงการมอบอำนาจจากเจ้าของ หรือผู้มีสิทธิครอบครอง อากาศยาน ให้เป็นผู้ยื่นคำขออนุญาตดำเนินการขออนุญาตทำการบินทดลองอากาศยานได้ ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้มีสิทธิครอบครองอากาศยาน และผู้ยื่นคำขออนุญาตมิใช่บุคคลเดียวกัน |
5. | ผู้ยื่นคำขออนุญาตทำการบินทดลองอากาศยาน ต้องจัดให้มีการประกันภัย อากาศยาน สำหรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลที่สาม ตามเงื่อนไขและเงินประกันภัยใน ประกาศกรมการขนส่งทางอากาศ เรื่อง ข้อกำหนดว่าด้วยการบินทดลองอากาศยาน พ.ศ. ๒๕๕๑ |
6. | เอกสารอื่นที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกำหนด. |
กระบวนการประกอบด้วย 3 ขั้นตอน |
1) ขั้นตอนการยื่นคำขอ
|
1.1) |
ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) เลขที่ 222 ซอยวิภาวดีรังสิต 28 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เจ้าหน้าที่จะพิจารณาตรวจรับเอกสาร ลงบันทึกในระบบเพื่อให้สามารถติดตาม เอกสารได้ในภายหลัง |
1.2) |
ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานผ่านระบบ EMPIC https://www.caat.or.th/th/archives/55072 เจ้าหน้าที่จะพิจารณาตรวจรับเอกสารผ่านระบบ โดยผู้ยื่นคำขอสามารถติดตามสถานะคำขอด้วยตนเองได้ผ่านระบบ EMPIC |
1.3) | หลังจากเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารหลักฐาน หากคำขอถูกต้องครบถ้วนหรือในกรณีที่พบว่าคำขอไม่ถูกต้องครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการแจ้งให้ผู้ขอจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอรับทราบภายในระยะเวลา 10 วันทำการ และจะดำเนินการในลำดับต่อไปหากผู้ขอได้ดำเนินการจัดส่งเอกสารเพิ่มเติมแล้ว (หากมี) หากผู้ขอไม่จัดส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วน เจ้าหน้าที่อาจพิจารณาส่งคำขอคืนให้แก่ผู้ขอ |
1.4) |
สำหรับการยื่นคำขอผ่านทางระบบ EMPIC หลังจากเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารแล้วจะดำเนินการติดต่อผู้ขอผ่านระบบ ในระยะเวลาไม่เกิน 10 วันทำการ หากคำขอถูกต้องครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการในลำดับถัดไป ในกรณีที่คำขอไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม หรืออาจปฏิเสธ (Reject) คำขอ และระบุเหตุผลไว้ในระบบ
หากมีข้อสงสัย ผู้ขอสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านทาง email: [email protected] หรือโทร: 02-568-8840, 02-568-8841 |
2) ขั้นตอนการตรวจสอบ
|
2.1) |
หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำร้องขอและเอกสารหลักฐาน
|
||||
2.2) | หลังจากนัดหมายวันออกตรวจเป็นที่เรียบร้อย ใบแจ้งหนี้ค่าธรรมเนียมการดำเนินการออกตรวจ (Inspection fees Invoice) จะถูกจัดส่งไปยังผู้ขอผ่านทางอีเมล ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 วันทำการ โดยผู้ขอจะต้องดำเนินการชำระ และแจ้งเจ้าหน้าที่พร้อมแสดงหลักฐานเป็นใบเสร็จ (Receipt) ผ่านอีเมล หรือช่องทางอื่นๆ เพื่อดำเนินการต่อ | ||||
2.3) | เมื่อถึงวันออกตรวจ เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาดำเนินการ โดยประมาณไม่เกิน 6 วันทำการ (ไม่รวมวันเดินทาง) ตามรายละเอียดใน “ภาคผนวก ข ประมาณการระยะเวลาและ จำนวนเจ้าหน้าที่ที่จะใช้ดำเนินการ แนบท้าย ระเบียบสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อออกใบรับรอง ใบอนุญาต ใบสำคัญ หนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองที่ออกตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามความในมาตรา 5/1 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ แห่ง พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2560” โดยจะแบ่งการตรวจเป็นการตรวจเอกสาร และการตรวจสภาพอากาศยาน เมื่อดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จเจ้าหน้าที่จะสรุปผลการตรวจในวันสุดท้ายของการออกตรวจ | ||||
2.4) | หากตรวจพบข้อบกพร่อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งผู้ขอผ่าน รายงานสรุปผลการตรวจในวันสุดท้ายของการออกตรวจ ซึ่งผู้ขอ ควรดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเหล่านั้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน และแจ้งผลการแก้ไขข้อบกพร่องพร้อมเอกสารหลักฐานผ่านทางระบบการตรวจอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หากผู้ขอไม่สามารถใช้งาน ระบบการตรวจอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ ผู้ขอสามารถใช้ช่องทาง อื่นๆ เช่น อีเมล เป็นต้น ในการแจ้งผลการแก้ไขข้อบกพร่อง |
3) ขั้นตอนการออกใบอนุญาตปฏิบัติการบินแบบพิเศษ หรือ การบินทดลอง
|
3.1) | หลังจากตรวจสอบเอกสารหลักฐานการแก้ไขข้อบกพร่อง ของผู้ขอแล้ว (ถ้ามี) เจ้าหน้าที่จะแจ้งผู้ขอให้ทราบและดำเนินการขออนุมัติ ผู้อำนวยการ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เพื่อลงนามและออกใบอนุญาตปฏิบัติการบินแบบพิเศษ หรือ การบินทดลอง ในระยะเวลาไม่เกิน 10 วันทำการ โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการพิจารณาและนัดหมายผ่านอีเมล หรือ ช่องทางอื่นๆ เพื่อส่งมอบใบอนุญาตปฏิบัติการบินแบบพิเศษ หรือ การบินทดลองให้กับผู้ขอ |
**หมายเหตุ: วิธีการรับใบรับรองคู่มือสามารถรับได้ที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (ต้องมีสำเนาบัตรประชาชนและลายเซ็นของผู้รับ) หรือการจัดส่งทางไปรษณีย์ |
กฎหมาย / แนวทางปฏิบัติ
|
1. | พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๑๖ วรรค ๒ (๒), มาตรา ๔๑/๘๑, ๔๑/๘๙, ๔๑/๙๐ และ ๔๑/๙๑ |
Checklists
|
Link |